โรคข้อเข่าเสื่อม

ศ.นพ.อารี ตนาวลี

                    โรคข้อเข่าเสื่อม ที่กล่าวถึงกันอยู่เป็นประจำในความหมายของคนทั่วไป หมายถึง ภาวะที่ข้อเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอย ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น เรียกว่าข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ ถ้าหากว่า โรคข้อเข่าเสื่อมมีสาเหตุที่ผิดปกติที่เกิดกับข้อเข่ามาก่อน เช่น การอักเสบของข้อเข่าจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อ ไขข้ออักเสบ กระดูกหัก เป็นต้น แล้วทำให้ในเวลาต่อมาผิวข้อผิดปกติ และเกิดข้อเสื่อมตามมา ข้อเสื่อมชนิดนี้เรียกว่าข้อเสื่อมทุติยภูมิ พบได้ประปรายในผู้ป่วยทุกอายุ แต่โดยรวมพบได้ไม่บ่อยเท่าข้อเสื่อมชนิดแรก..

 

เมื่อข้อเสื่อมเกิดที่ข้อเข่า

 

                    โรคข้อเสื่อมที่เกิดกับข้อเข่าเป็นโรคข้อเข่าที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูง อายุ เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี แต่มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี เราจะเข้าใจการเกิดโรคนี้จากภาวะสูงอายุได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของการเหี่ยวย่นของผิวหนังกับข้อเข่าของผู้ สูงอายุ โดยเมื่ออายุน้อย ผิวหนังมีความเต่งตึงเช่นเดียวกับผิวข้อที่มี ผิวเรียบ มัน วาว แต่เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังเหี่ยวย่นขึ้น เช่นเดียวกับการเสื่อมสภาพของผิวข้อ (รวมถึงเยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และกระดูกที่ประกอบเป็นข้อ) เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วย

  • ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน
  • การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ เริ่มผิดปกติ บางบริเวณมากขึ้น บางบริเวณน้อยลง ทำให้การรับน้ำหนักผิดปกติ มีอาการปวดเสียว
  • เยื่อหุ้มข้อ ถูกระคายเคือง เกิดการอักเสบ และสร้างน้ำในข้อมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้ออุ่น
  • กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีความแข็งแรงน้อยลง แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น
  • เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น ทำให้ข้อแกว่ง หรือหลวมมากขึ้น เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น
  • แนวแกนขา เริ่มผิดปกติ จากน้ำหนักที่มากขึ้น ร่วมกับเอ็นยึดข้อที่หย่อนยานขึ้น ทำให้เข่าดูโก่ง หรือดูขาเก
  • กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง
  • การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาแล้ว เป็นเหตุเป็นผลกัน และเป็นปัจจัยที่ร่วมกันทำให้ขบวนการอักเสบเสื่อมภายในข้อเข่าเกิดขึ้น และเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จนทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ

                    อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอ ข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือ ข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นมากขึ้นได้

                    นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ เพื่อให้อาการเหล่านี้ทุเลาหรือหายไปได้เป็นครั้งคราว เช่นการปรับตัวในเรื่องการงอข้อเข่า โดยการหลีกเลี่ยงการนั่งยอง ๆ การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาส การนั่งคุกเข่า และการขึ้นหรือลงบันไดบ่อย ๆ หรือหลายชั้น รวมถึงการปรับกิจกรรมประจำวัน เช่น ลดระยะทางการเดิน ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ และการใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน

                    ปัญหาข้อเข่าโก่งผิดรูป ก็เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เมื่อข้อเข่าโก่งมักจะเกิดปัญหาเอ็นรอบข้อเข่าหย่อนตัวด้านนอก ทำให้ข้อเข่าเริ่มดูโก่งมากขึ้น เมื่อยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่อง จะเกิดการขัดหรือสึกหรอผิดปกติของผิวข้อด้านใน ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เข่าดูโก่งมากขึ้น ในผู้ป่วยบางคนอาจมีข้อเข่าที่มีรูปร่างโก่งตั้งแต่อายุน้อย ๆ อยู่แล้ว เมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่ข้อเข่าจะมีปัญหาได้มากกว่าผู้ที่ข้อเข่าดูรูป ร่างปกติ

                    เมื่อเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีอาการของโรคซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ถ้าหากว่าอาการที่เกิดขึ้นน้อย ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้น ๆ ได้วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้น ประกอบด้วยวิธีหลัก ๆ ดังนี้

  •  หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ (นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า) ดังที่กล่าวมาแล้ว
  •  หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น
  •  ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน
  •  หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา
  •  ทานยาแก้อักเสบของข้อเมื่อจำเป็น หรือทานเป็นครั้งคราว
  •  ในรายที่ข้อโก่งผิดรูป และหรือมีการแกว่งของข้อได้มากกว่าปกติ ควรสวมปลอกสวมข้อเข่า ชนิดมีเหล็กสปริงที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
  •  ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ

 

                    สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยต้องทราบ ในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวมาแล้วก็คือ ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคน้อยหรือปานกลางเท่านั้น ที่สามารถรักษาวิธีเหล่านี้ได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ป่วย

--------------------------------

 
playButton บันทึกข้อมูล
playButton การศึกษา playButton งานวิจัย
playButton ประกันคุณภาพ
       
+  ภาระงานคณาจารย์ + ระดับปริญญา แผนงานวิจัย แหล่งเงินทุนวิจัย KPI-QA คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
+  ระบบสารบรรณ แพทย์ประจำบ้าน + ผลงานวิจัย ปี 1999-ปัจจุบัน + สมศ สนง.รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
 
button arrow Web Ortho  button arrow คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  button arrow โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  button arrow จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   button arrow สภากาชาดไทย   button arrow ข่าวสารจุฬาฯ   button arrow สำนักวิจัยจุฬาฯ  button arrow Webmail @Chula
button arrow ระบบยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการออนไลน์ คณะแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย >> LINK  
button arrow แบบฟอร์มคำขอแพทย์ที่ต้องการฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ประจำบ้านต่อยอด ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >> Link  
NEWbutton arrowbutton arrowbutton arrow ตารางการประชุม : สัมมนา :: ประจำปี 2567 :: และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง button arrowbutton arrowbutton arrow 

สื่อสารภายใน