รศ.นพ.สมิทธ์ สิทธิพงศ์

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สมิทธ์ สิทธิพงศ์

 

                อาจารย์สมิทธ์ สิทธิพงศ์ จบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ โดยเป็นแพทย์จุฬารุ่นที่ ๔ อาจารย์สมิธได้รับเลือกให้เป็นแพทย์ประจำบ้านแผนกอายุรศาสตร์ สูติ-นรีเวชศาสตร์ และศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเวลา ๒ ปี จากนั้นได้มาปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านอาวุโสแผนกศัลยศาสตร์อีก ๓ ปี โดยเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เล็กและอาจารย์สมาน อาจารย์สมิทธิ์ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์แผนกศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑  อาจารย์สมิทธิ์มีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ได้ช่วยอาจารย์สมานทำการผ่าตัดทรวงอก โดยการควบคุมเครื่องมือปอดหัวใจให้อาจารย์สมานในช่วงการทำงานช่วงแรกๆ ต่อมาอาจารย์สมิทธ์ได้หันมาทุ่มเทความสนใจในการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ และได้รับทุนโคลอมโบให้ไปศึกษาวิชา Orthopaedics and Accidental Surgery กับ  Prof.Trueta ที่มหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๗ เป็นเวลา ๒ ปี อาจารย์สมิทธ์กลับมาทำงาน่วมกับอาจารย์เล็ก ณ นครและอาจารย์สมัค พุกกะณะเสน เมื่อมีการแยกภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ออกจากภาควิชาศัลยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗

                งานทางด้านออร์โธปิดิกส์ได้เริ่มมาตั้งแต่ทานอาจารย์นายแพทย์เล็ก ณ นคร อาจารย์นายแพทย์สมาน มันตราภรณ์ และ อาจารย์นายแพทย์สมัค พุกกะณะเสน เมื่ออาจารย์สมิทธ์กลับมาจากต่างประเทศได้เริ่มวิธีการผ่าตัดใหม่ๆทางออร์โธปิดิกส์ที่ทันสมัยหลายอย่างมาผ่าตัดกับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เช่น Leg Lengthening ในผู้ป่วยขาสั้นยาวไม่เท่ากัน การผ่าตัดกระดูกสันหลังใส่ William Plate ที่กระดูกสันหลัง ซึ่งนับว่าเป็นการทำ Spinal Instrumentation เป็นครั้งแรกในประทศไทย  การผ่าตัดแก้ไขหลังคดได้ทำการผ่าตัดโดยใช้ Harrington Instrumentation ดัดหลังให้ตรงพร้อมทั้งเชื่อมกระดูกสันหลัง การเชื่อมกระดูกสันหลังโดยใช้สกรูยึดที่ข้อฟาเซ็ท (King Fusion) การทำ Vertebral Osteotomy เพื่อแก้ไขภาวะหลังโกง(Kyphosis) ในคนไข้ Ankylosing Spondylitis การผ่าตัดข้อสะโพก

                อาจารย์สมิทธ์เป็นนักประดิษฐ์โดยได้ประดิษฐ์Turn Buckle สำหรับนำมาใช้แก้ไขข้อเข่าที่ติดในท่าเข่างอ (flexion deformity) ประดิษฐ์ Anti-rotation splintซึ่งถ้าซื้อจากต่างประเทศจะมีราคาแพง อาจารย์สมิทธ์ยึดมั่นในเทคนิคการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการล้างมือเข้าผ่าตัด ถ้าแพทย์ประจำบ้านล้างมือเสียงดังเลอะเทอะจะถูกตำหนิอย่างแรง เมื่อช่วยอาจารย์สมิทธ์ผ่าตัดต้องไม่แตะต้องกระดูกหรือเนื้อเยื่ออื่นด้วยถุงมือโดยเด็ดขาด อาจารย์สมิทธิ์เป็นกรรมการคนสำคัญในการออกแบบสร้างตึกเจริญ- สมศรี เจริญรัชตภาคย์ ทำให้ภาควิชาได้มีตึกรักษาผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์และห้องผ่าตัดพร้อมอุปกรณ์ผ่าตัดที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยดีขึ้นมาก   

                อาจารย์สมิทธ์ สิทธิพงศ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต่อจากท่านอาจารย์สมัค พุกกะณะเสน ในปี พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๗ ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการปรับปรุงภาควิชาฯ ให้เจริญก้าวหน้าไปมาก เช่น ได้มีการใช้ Image Intensifier เข้ามาช่วยในการผ่าตัดข้อสะโพก การทำ Close Intra-medullary Nailing การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ทำให้ช่อเสียงของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศษสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโด่งดังและรู้จักกันแพร่หลาย

สื่อสารภายใน