ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม

ปรัชญา คณะแพทยศาสตร์ :: "แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม"

 010122

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์

วิสัย ทัศน์ : จักเป็นภาควิชา/ฝ่าย ออร์โธปิดิกส์ชั้นนำของประเทศ ที่ประสาทความรู้ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่ นิสิตแพทย์ บัณฑิตแพทย์ และ แพทย์ประจำบ้าน อย่างมีประสิทธิผล มุ่งบริการต่อผู้รับบริการด้วยคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพ สร้างงานวิจัยตอบสนองความต้องการของสังคม..

พันธกิจ

1). ให้ความรู้แก่นิสิตแพทย์และบัณฑิตศึกษาด้านออร์โธปิดิกส์ตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิผล
2). ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
3). ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านออร์โธปิดิกส์อย่างครบวงจร
4). ค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและชี้นำสังคม
5). ให้บริการวิชาการทางด้านออร์โธปิดิกส์แก่หน่วยงานและประชาชน
6). สนับสนุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่นิสิตแพทย์ แพทย์และเจ้าหน้าที่ ทุกระดับ
7). จัดสภาพแวดล้อมที่ดี สะดวกและปลอดภัยแก่ บุคลากรและผู้รับบริการ
8). ตรวจสอบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

การบรรลุพันธกิจ

1 ). มาตรฐานของภาควิชาในระบบประกันคุณภาพการศึกษา (QA)
2 ). มาตรฐานของฝ่ายในระบบประกันคุณภาพการบริการ (HA)

 

ค่านิยม "จริยธรรม ความเป็นเลิศ ความภาคภูมิใจ นวัตกรรมและการเรียนรู้ ความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามัคคี" (MEDISCU+)

M Morality จริยธรรม หมายถึง การปฏิบัติงานที่คำนึงถึงกฎหมาย จริยธรรมวิชาชีพ มนุษยธรรมตามหลักการของสภากาชาดไทย และการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good governance) ได้แก่ โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้
E Excellence ความเป็นเลิศ หมายถึง การปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ผลงานที่มีคุณภาพ (Quality) และความเป็นเลิศ มีความปลอดภัย รวดเร็ว ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ และด้วยหัวใจ ที่สร้างความประทับใจแก่ผู้รับผลงาน ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การบริการ การเรียนการสอนและงานวิจัย
D Dignity ความภาคภูมิใจ หมายถึง การปฏิบัติงานด้วยความเป็นมืออาชีพ นำสู่ความภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง และสถาบันภายใต้พระนาม “จุฬาลงกรณ์”
I Innovation นวัตกรรม หมายถึง การปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมของผลงานและกระบวนการทำงาน นำไปสู่ความกระชับ (Lean) ประสิทธิภาพ ความคล่องตัว ทำให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้นเสมอให้แก่ผู้รับผลงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างเสริมความยั่งยืนขององค์กร
S Social Responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การปฏิบัติงานที่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยคำนึงถึงและป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากผลงานและการปฏิบัติงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
C Continuous Improvement การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การปฏิบัติงานที่ควบคู่ไปกับการติดตาม ทบทวน เรียนรู้ และปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
U Unity ความสามัคคี หมายถึง การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อนช่วยเพื่อน สมัครสมานสามัคคี ยึดถือเป้าหมายและประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักในการทำงานร่วมกัน
+ Plus ความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การปฏิบัติงานที่มีการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งที่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เป็นปัจจัยเสริม (บวก) ซึ่งสร้างความยั่งยืน มั่นคงให้กับองค์กร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
     

สื่อสารภายใน