Blog

รศ.นพ.ตรง พันธุมโกมล

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ตรง พันธุมโกมล

  
          อาจารย์ตรง พันธุมโกมล จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นแพทย์จุฬา รุ่นที่ ๗ อาจารย์เป็นศิลปินและมีพรสวรรค์ด้านดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ อาจารย์ตรงเป็นนักแซกโซโฟนที่มีชื่อเสียงมากของวง MD CU มีโอกาสได้เล่นแซกโซโฟนถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และอาจารย์ตรงยังเป็นผู้ได้รับพระราชทานแซกโซโฟนพระราชทานให้กับวง MD CU ซึ่งได้เก็บเป็นสมบัติของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังจากจบแพทย์แล้วอาจารย์ตรงได้เข้ารับราชการทหารยศร้อยโท ปฏิบัติงานที่ ผส ๓ กองทัพภาค ๒ จังหวัดนครราชสีมา เป็น เวลา ๒ ปี ต่อจากนั้นอาจารย์ตรงได้สมัครเข้าทำงานเป็น Intern และแพทย์ประจำบ้าน ที่ มหาวิทยาลัย Harvard เมือง Boston มลรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๖ ปี จนได้รับ Certificate in Orthopedics และเป็น Board Eligible  แต่อาจารย์ตรงตั้งใจอย่างยิ่งที่จะกลับมาทำงานประเทศไทยจึงไม่มีความประสงค์จะอยู่รอสอบ American Board และได้กลับมาบรรจุเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลังการแยกภาควิชาฯในปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงนับว่าอาจารย์ตรงเป็นผู้หนึ่งที่เริ่มบุกเบิกภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้น

          อาจารย์ตรงเป็นผู้ที่สุขุมเยือกเย็น ไม่ชอบการเจรจา แต่เมื่อตั้งใจจะทำอะไรก็ทำสำเร็จทุกครั้ง อาจารย์ตรงเป็นผู้มีทักษะในการผ่าตัดเป็นอย่างยิ่ง และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการรักษากระดูกหัก โดยเน้น Biological Union เช่น การผ่าตัดกระดูกต้นขาโดยใช้ Kuntcher Nail และ ใช้ cortical screw เพื่อช่วยป้องกัน Rotation อาจารย์ตรงจะพร่ำสอนแพทย์ประจำบ้านถึงเทคนิคการปรับการดึง Traction ในการรักษากระดูกหัก อาจารย์จะจับมือสอนแพทย์ประจำบ้านในการผ่าตัดยากๆ เช่น Four Parts Fracture Proximal Humerus โดยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ง่ายๆแต่มั่นคง แทบไม่มีแพทย์ประจำบ้านคนไหนเลยที่อาจารย์จะไม่จับมือสอนให้ทำผ่าตัด Hip Prosthesis อาจารย์ตรงเป็นที่รักและเป็นกันเองกับลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หลังการสอนผ่าตัดผ่าตัดแล้วอาจารย์ก็มักจะพาแพทย์ประจำบ้านไปเลี้ยงและสอนวิธีการดำเนินชีวิตให้เสมอๆ อาจารย์ตรงเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ครอบครัวของอาจารย์เป็นครอบครัวศิลปิน โดยเฉพาะคู่ชิวิตของท่าน คือ อาจารย์สดใส พันธุมโกมล ศิลปินด้านแสดงที่ยิ่งใหญ่ของไทยท่านหนึ่ง

ศ.นพ.มานิตย์ ลิมปพยอม

manid md.

 

  ศ.นพ.มานิตย์ ลิมปพยอม

- เป็นแพทย์จุฬา รุ่นที่ ๑๓ จบแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๖  ได้รับเกียรตินิยมเหรียญทอง เป็นผู้มีผลการเรียนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร เมื่อจบการศึกษาได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

- เข้าฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและสอบได้ Diplomate of the American Board of Orthopedic Surgery ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ หลังจากได้ฝึกอบรมต่อทางด้าน Pediatric Orthopedic

- บรรจุเป็นอาจารย์ ในภาควิชาออร์โธปิดิกส์ และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๔ สอนทางด้าน Pediatric Orthopedics และ Metabolic Disorder

- แต่งตำรากระดูกหักข้อเคลื่อน ตำราแพทยศาสตร์ศึกษา และทำงานวิจัยทางด้านออร์โธปิดิกส์ อย่างมาก

- ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ โดยที่ในขณะนั้นอาจารย์มีอายุเพียง ๓๙ ปี

- ช่วยงานสมาคมออร์โธปิดิกส์ โดยทำหน้าที่อุปนายกฝ่ายวิชาการตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ และเป็นกรรมกลาง และกรรมการสอบวุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์หลายสมัย

- งานวิชาการ เป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.นพ.วินัย พากเพียร

vinai

 

    2505            พ.บ.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
    2505-2506    แพทย์ฝึกหัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    2506-2507    ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางคลินิกขั้นพื้นฐานสาขาศัลยศาสตร์
    2506-2508    แพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    2508-2514    อาจารย์ภาควิชาออร์โทปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟิ้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    2514-2516    DIPLOMA IN ORTHOPAEDICS AND TRAUMATOLGY (VIENNA) ประเทศออสเตรีย
    2516-2507    หนังสืออนุมัติบัตรฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์  (แพทยสภา)
    2508-2540    รองศาสตราจารย์ ภาควิชาออร์โทปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    
ตำแหน่งหน้าที่

    1. รองศาสตราจารย์ ภาควิชาออร์โทปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    2. ประธานคณะกรรมการสอบเพื่อหนังสืออนุมัติฯ และวุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ของแพทยสภา
    3. ประธานคณะกรรมการอุทรกองเงินทุนทดแทน สำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
    4. ที่ปรึกษาพิเศษศาลแรงงาน
    5. คณะกรรมการบริหารของ WESTERN PACIFIC ORTHOPAEDIC ASSOCIATION.
    6. คณะกรรมการบริหาร SPINAL SECTION OF THE WESTERN PACIFIC ORTHOPAEDIC ASSOCIATION.
    7. คณะกรรมการบริหารภัชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
    8. คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
    9. อาจารย์พิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร

ผลงานในอดีต

    1. นายกสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
    2. ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
    3. ประธานชมรมศัลยแพทย์ทางมือแห่งประเทศไทย
    4. อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมรูมาติสมแห่งประเทศไทย
    5. นายกสมาคมแพทย์ออร์โธปิดิกส์กลุ่มประเทศอาเซียน
    6. หัวหน้าภาควิชาออร์โทปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รศ.นพ.ชายธวัช งามอุโฆษ

 

 

  • จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยเป็นแพทย์จุฬา รุ่นที่ ๑๔
  • เป็น Intern ที่ Albert Einstein Medical Center เมือง ฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลวาเนีย และฝึกอบรมต่อทางด้านออร์โธปิดิกส์ที่ โรงพยาบาล Mount Sinai เมือง Miami Beach มลรัฐฟลอริดาและ Montefiore Medical Center ที่เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากสอบได้ Diplomate American Board of Orthopedic Surgery
  • บรรจุเป็นอาจารย์ในภาควิชาออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๕๑๔
  • นำเทคนิคการผ่าตัดของ AO ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์มาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ประสบภาวะกระดูกหัก ทำให้ผู้ป่วยได้รับมาตรฐานการรักษาที่ดีขึ้นมาก
  • ผู้นำในการผ่าตัด Tibial Nailing ในกรณี Compound Fracture ของกระดูก Tibia ซึ่งถูกวิพากย์วิจารณ์ในช่วงแรกเป็นอย่างมากซึ่งต่อมาก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  • ประยุกต์การผ่าตัดใส่ Retrograde Intramedullary K-wires ในการรักษากระดูกไหปลาร้าหัก ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร Journal of Bone and Joint Surgery
  • เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก แบบของ Professor Charnley มาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยปัญหาข้อสะโพก
  • สนับสนุนส่งเสริมการผ่าตัด Arthroscopy การผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้กล้อง Microscope การผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ Image Intensifier  การผ่าตัดกระดูกสันหลังและกระดูกคอ
  • แต่งตำราทางอออร์โธิดิกส์ เช่น กระดูกเชิงกรานหัก ฯลฯ
  • ร่วมก่อให้เกิด Asean Orthopedic Association ขึ้น

 

 

ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์

 

วทบ. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2517
พบ. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2519
อื่นๆ : วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2523
: Hand and Microsurgery Fellowship ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ. 2525

หมวดหมู่รอง

สื่อสารภายใน