Blog

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขา การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์

1.    ชื่อหลักสูตร  

       ชื่อภาษาไทย    หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
       ชื่อภาษาอังกฤษ    Fellowship Training Orthopaedic Trauma

2.    ชื่อประกาศนียบัตร
       ชื่อภาษาไทย    ประกาศนียบัตรแพทย์ออร์โธปิดิกส์  อนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
       ชื่อภาษาอังกฤษ    Certificate Orthopaedic trauma fellowship

3.    หน่วยงานที่รับผิดชอบ
       อนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์

 

หลักการและเหตุผล

         การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์  ซึ่งได้แก่การบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อ เป็นภาวะที่พบบ่อย และการบาดเจ็บมีแนวโน้มมีอุบัติการณ์สูงขึ้น ลักษณะทางพยาธิสภาพก็ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งมีผลเสียต่อการทำงานของส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนำไปสู่ความพิการและทุพลภาพของผู้ป่วย อันมีผลต่อเศรษฐานะของผู้ป่วยและประเทศชาติอย่างมาก
        จากพัฒนาการของวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั้งชีววิทยา ชีวกลศาสตร์ โลหะวิทยา และรังสีวิทยาตลอดจนพัฒนาการของเครื่องมือผ่าตัด ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อ เพื่อการรักษา แก้ไขและป้องกันความพิการที่ซับซ้อนและรุนแรงให้ได้ผลดีกว่าวิธีการรักษาตามพื้นฐานเดิมมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่แรกส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อ ที่ได้รับบาดเจ็บได้ดีใกล้เคียงเดิม หรือเหมือนเดิม เป็นการลดการสูญเสียและความพิการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญในอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์  สามารถให้การปรึกษาแก่ศัลแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วไป และสามารถทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาศาสตร์ด้านนี้ได้อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการพัฒนาและเศรษฐานะของประเทศ คณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยจึงจัดให้มีหลักสูตรนี้ขึ้น
   
   
4.    กำหนดการเปิดการฝึกอบรม

-    ประกาศรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ พ.ค....- ๒๔ พ.ค....
-    คณะกรรมการฝึกอบรมอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์พิจารณาผลการคัดเลือก ๓๐ พ.ค.... เวลา ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น.
-    ประกาศผลการคัดเลือกและแจ้งผู้สมัครทราบ ๓๑ พ.ค....
-    เริ่มการฝึกอบรมตามหลักสูตร ๑ ก.ค.... สิ้นสุดการฝึกอบรม ๓๐ มิ.ย....



5.    อาจารย์แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรม

      มีอาจารย์แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรมและเป็นผู้รับผิดชอบการฝึกอบรมดังต่อไปนี้
      5.1    อาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมเต็มเวลา
              5.1.1    อาจารย์ในอนุสาขาที่ฝึกอบรมมีคุณวุฒิต่อไปนี้
                         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯหรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาศัลยศศาตร์ออร์โธปิดิกส์จากราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และได้ปฏิบัติงานทางด้านการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี

              5.1.2    อาจารย์ร่วมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับอนุสาขาที่ฝึกอบรมอย่างน้อยสาขาละ 1 คน ได้แก่
                         5.1.2.1  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาวิสัญญีวิทยา
                         5.1.2.2  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
                         5.1.2.3  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง
                         5.1.2.4  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาประสาทศัลยศาสตร์
                         5.1.2.5  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
                         5.1.2.6  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขารังสีวิทยา
                         5.1.2.7  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาพยาธิวิทยา
                         5.1.2.8  ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขานิติเวชศาสตร์

6.    สถาบันที่ให้การฝึกอบรม                   

       โรงพยาบาลตามที่คณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยกำหนด

7.    จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

       จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ........... คน

8.    คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม

       ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบทุกข้อ ดังนี้

       8.1    ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา
       8.2    ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์จากแพทยสภา หรือเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์จากสถาบันต่างประเทศที่แพทยสภาได้ให้การรับรองแล้ว
       8.3    ได้ปฏิบัติงานด้านออร์โธปิดิกส์หลังสำเร็จการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ยกเว้นกรณีที่ต้นสังกัดเป็นหน่วยงานของราชการและยินยอมให้ผู้สมัครไปรับการฝึกอบรมในอนุสาขาโดยต่อเนื่องทันทีภายหลังจากได้สำเร็จการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

9.    ระยะเวลาการฝึกอบรม

      หลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 1 ปี

10.  วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม

      เมื่อสำเร็จจากการฝึกอบรม ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถ ดังนี้

      10.1     ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและครบวงจร
      10.2     ติดต่อสื่อสาร ให้การศึกษาและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร
      10.3     มีวิจารณญาณที่ถูกต้องในการพิจารณาข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์และทำการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      10.4     พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย ตลอดจนผู้ร่วมวิชาชีพและชุมชน โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและกฎหมาย

11.  เนื้อหาการฝึกอบรมโดยสังเขป (รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก)

      11.1  ความรู้พื้นฐานทางด้านการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
              11.1.1  กายวิภาคประยุกต์ชั้นสูง วิทยาการเคลื่อนไหว ชีววิทยาชั้นสูง โลหะศาสตร์และชีวกลศาสตร์ชั้นสูงของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.2  สรีระวิทยาชั้นสูงของเนื้อเยื่อต่างๆและระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.3  ลักษณะการบาดเจ็บและพยาธิสภาพที่พบในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.4  ขบวนการวินิจฉัยการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.5  การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.6  การดูแลรักษาทั้งการผ่าตัดและการรักษาโดยอนุรักษ์ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.7  การประเมินและการฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลังการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.1.8  แนวทางการป้องกันอุบัติภัยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
      11.2 ทักษะการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อ
              11.2.1  ความสามารถในการให้การวินิจฉัยทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
              11.2.2  ความสามารถในการใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจและวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
              11.2.3  ความสามารถในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
              11.2.4  ความสามารถในการผ่าตัดแก้ไขและรักษาเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในระบบกล้ามเนื้อกระดูก เอ็นและข้อที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
              11.2.5  ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยก่อน ระหว่างและหลังการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง
              11.2.6  ความสามารถในการทำวิจัยและการเสนอผลงานได้อย่างถูกต้อง

12. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

     12.1   การร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่างๆของอนุสาขาฯโดยสม่ำเสมอ ดังนี้
              12.1.1    Quality Improvement Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
              12.1.2    Interesting Case Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
              12.1.3    Journal Club ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
              12.1.4    Lecture/ Topic Review ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
              12.1.5    Ward Round/ Grand Round ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์
              12.1.6    Inter-hospital/Inter-departmental Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
              12.1.7    การประชุมวิชาการประจำปีและการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรม
              12.1.8    การประชุมวิชาการประจำปีและการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องที่จัดโดย/ในนามของราชวิทยาลัยฯ
     12.2   การปฏิบัติงานทางคลินิกดังนี้
              12.2.1    หมุนเวียนปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถาบันที่คณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ยอมรับไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาการอบรม
              12.2.2    การดูแลผู้ป่วยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก
              12.2.3    การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
              12.2.4    การดูแลผู้ป่วยที่คลินิกเฉพาะทาง
              12.2.5    การให้คำปรึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลแก่หน่วยงานอื่น
              12.2.6    การช่วยผ่าตัดและการผ่าตัดเองในห้องผ่าตัด
     12.3   ประสบการณ์การผ่าตัดที่สำคัญ ดังนี้
              12.3.1    ทำการผ่าตัดด้วยตนเองภายใต้การดูแล หรือภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์แพทย์
              12.3.2    ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วยตนเองในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อที่ซับซ้อนไม่น้อยกว่า 50 ราย
              12.3.3    ทำการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องมีแพทย์หลายคนร่วมให้การรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อที่ซับซ้อนมากไม่น้อยกว่า 30 ราย ทำผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติหลังได้รับบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูกเอ็นและข้อที่ซับซ้อนทั้งชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิไม่น้อยกว่า 10 ราย
              12.3.4    เป็นผู้ช่วยผ่าตัดลำดับที่หนึ่ง (first assistant) ในการผ่าตัดต่างๆ ไม่น้อยกว่า 50 ราย

      12.4   เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติและ/หรือตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่ราชวิทยาลัยฯ รับรองอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือเสนอโครงการวิจัย (research proposal) ฉบับสมบูรณ์

13.  การประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรม   

        ผู้รับการฝึกอบรมต้องได้รับการประเมินผล ดังนี้
        13.1    การประเมินระหว่างการฝึกอบรมโดยคณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย  เพื่อการพัฒนา (Formative evaluation) และการตัดสินผลการฝึกอบรม (summative evaluation) ของแต่ละวิชาในข้อ 12. เพื่อขอรับการประเมินในข้อ 14.2. เกณฑ์การตัดสินและระเบียบย่อยให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
        13.2    การประเมิน โดยคณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องมีทั้งการสอบสัมภาษณ์ การสอบข้อเขียน เกณฑ์การตัดสินและระเบียบย่อยให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการอนุสาขาฯ
        13.3    การตัดสินผลการประเมินขั้นสุดท้ายให้ขึ้นกับคณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

14.  การประกันคุณภาพการฝึกอบรม

        คณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในด้านการประกันคุณภาพการฝึกอบรมดังนี้

        14.1    กำหนดคุณสมบัติ ประเมินและกำกับสถาบันที่สามารถให้การฝึกอบรมอนุสาขา การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
        14.2    ดำเนินการประเมินและสอบผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อประกาศนียบัตร

 


ภาคผนวกที่ 1 

รายละเอียดของเนื้อหาวิชาและหัตถการเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมตามหลักสูตร ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะต้องมีความรู้ ความสามารถตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

1.    ความรู้ทางทฤษฎี

1.    ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ของระบบ Musculoskeletal
2.    ชีวกลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและกลไกการบาดเจ็บ
3.    สรีระวิทยาของระบบ Musculoskeletal ในคนปกติและพยาธิสรีระวิทยาของระบบ    Musculoskeletal และ Systemic effects เมื่อได้รับบาดเจ็บ Histochemical, Physical, radiological events of fracture healing
4.    Factors affecting soft tissue and bone healing
5.    การรักษาขั้นต้นกรณีบาดเจ็บระบบสำคัญหลายระบบ(Major multiple system trauma)
6.    ให้การรักษาตามลำดับความสำคัญและเร่งด่วน
7.    การเสียเลือดอย่างรุนแรง
8.    การประเมินและการรักษากรณีบาดเจ็บแขนและขาพร้อมๆกันหลายตำแหน่ง
9.    การวินิจฉัยและรักษาการบาดเจ็บกระดูก,ข้อต่อ,กล้ามเนื้อ,เส้นเอ็น,เส้นประสาท, หลอดเลือด ที่เกี่ยวข้อง ของรยางค์ต่างๆ เชิงกราน และกระดูกสันหลัง ด้วยการไม่ผ่าตัดและการผ่าตัด
10.    นิยาม (Definition) และการจัดหมวดหมู่ (Classification) ของส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ
11.    ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการผ่าตัดชนิดต่างๆ
12.    การวินิจฉัยและรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บและการรักษา
13.    การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในระบบที่เกี่ยวข้อง

2.    ทักษะทางปฏิบัติการ

1. สามารถให้การวินิจฉัยและรักษา

1.1    ผลของการบาดเจ็บต่อระบบอื่นๆทั่วไป

-    Initial management of major multiple system trauma
-    Establishment of treatment priorities
-    Systemic effects of trauma
-    Patterns of injury
-    Major bleeding
-    Assessment and management of major multiple extremity injuries

1.2    ภาวะแทรกซ้อนทาง  Orthopaedic Trauma

     a.    Assessment , investigation and management
     b.    Skin

-    Ischemic skin
-    close and  open wound
-    infection

      c.    Vascular

-    Ischemic limb
-    Compartmental syndrome

      d.    Nerve   

-    Injuries

      e.    Muscle and Tendon

-    Injuries

      f.  Fat embolism syndrome, Pulmonary embolism

      g. Deep venous thrombosis

      h. Coagulopathy

      i.  Delayed union, Non union, Malunion

      j.  Joint stiffness

      k. Osteoporosis

      l.  Algodystrophy

1.3    FRACTURES and DISLOCATION and their complications

a.    Open and Closed injuries

b.    Upper and Lower extremities

c.    Spine

-    Cervicle, Thoracic, Lumbar and Sacrum

d.    Pelvis and Acetabulum

1.4    Soft  tissue injuries

        Muscle, tendon

1.5    Joint injuries

        Open or closed

1.6    Pathological fractures



2. สามารถพิจารณาส่งตรวจและแปลผลอย่างถูกต้องดังนี้

-    Radiographic examination
-    Myelography
-    Angiography
-    Arthrography
-    Tomography
-    CT scan
-    3D CT scan
-    Bone scan
-    MRI
-    Electrodiagnostic study

3. สามารถพิจารณาการทำหัตถการ

    การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด

   a.    Immobilization

         Traction

-    Skin: Upper and Lower Extremities
-    Skeletal : Extremities and Spine
-    Applications of halo and halo traction vest

         Casting, splinting technique

  b.    Functional treatment
        Bracing
        Rehabilitation management

  c.    Closed reduction of Fracture and/or Dislocation
        Metaphyseal , Diaphyseal ,Joint, Spine injuries

  d.    Fluroscopy technique
               
การรักษาโดยการผ่าตัด

a.    Debridement : Soft tissues injuries , open joint injuries and open fractures
b.    Arthrotomy
c.    Fasciotomy  of compartments
d.    Repair of muscles and tendons
e.    Surgical repair of ligaments and reconstruction
f.    Open reduction and/or Closed reduction with fixation of fractures

-    Plate and screws
-    Intramedulallary Nailing
-    Interlocking Nail
-    Wiring , TBW
-    Pinning
-    External Fixation

g.    Open reduction – simple or complex dislocations for failed closed reduction
h.    Fluroscopy technique in surgeries
i.    Complex fractures fixation, Articular, periarticular, pathological        fractures
j.    Bone grafting technique, Allografting technique, Distraction osteogenesis
k.    Surgical management for Delayed or Nonunion , Malunion
l.    Surgical revision of single plane or complex malunions and osteotomies
m.    Surgical soft tissues releases of stiffness
n.    Amputation
o.    Synostosis management
p.    Arthrofibrosis management
q.    Prosthetic replacement in treatment of  fractures, shoulder, hip
r.    Wound management, surgical excision, secondary intention

-    Simple or local flaps or Z plasty

s.    Acetabulum

-    Open reduction and internal fixation
-    Late reconstruction

t.    Spine

-    Operative management of acute fractures and fractures dislocation , include decompression( posterior), instrumentation
-    Fusion

u.    Pelvis

-    Operative management of simple & complex fractures including internal and external fixation of Pelvis   

v.    Arthroscopy : knee

w.    Salvage procedure

-    Joint fusion: Shoulder, Elbow, Wrist, Hip, Knee, Ankle
-    Resection Arthroplasty

3.    เจตคติในวิชาชีพ

3.1     มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคหรือการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3.2     มีความใฝ่รู้ศึกษาค้นคว้าวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

4.    ประสบการณ์การเรียนรู้

4.1      ผลงานวิจัยหรือโครงการวิจัย (research proposal) ฉบับสมบูรณ์อย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งอาจเป็นงานวิจัยด้านคลินิก หรือด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานก็ได้ ที่มีคุณสมบัติที่อนุสาขาการบาดเจ็บทาง
ออร์โธปิดิกส์ฯ ให้การรับรอง

4.2      ส่วนร่วมในกิจกรรมการศึกษา ดังนี้

4.1.1    Quality Improvement Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
4.1.2    Interesting Case Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
4.1.3    Journal Club ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
4.1.4    Lecture/Topic Review ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
4.1.5    Ward Round/ Grand Round ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์
4.1.6    Inter-hospital/Inter-departmental Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
4.1.7    การประชุมวิชาการประจำปีและการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรม
4.1.8    การประชุมวิชาการประจำปีและการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องที่จัดโดย/ในนามของราชวิทยาลัยฯ

4.2    ได้ปฏิบัติงานด้านการรักษาผู้ป่วยภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ประจำหลักสูตร ดังนี้

4.2.1    หมุนเวียนปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถาบันที่คณะกรรมการอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ยอมรับไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาการอบรม4.2.2    การดูแลผู้ป่วยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก
4.2.3    การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
4.2.4    การดูแลผู้ป่วยที่คลินิกเฉพาะทาง
4.2.5    การให้คำปรึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลแก่หน่วยงานอื่น
4.2.6    การช่วยผ่าตัดและการผ่าตัดเองในห้องผ่าตัด
4.3    ได้ทำหัตถการด้วยตนเองไม่น้อยกว่าจำนวนที่ระบุ ดังนี้
4.3.1    ทำการผ่าตัดด้วยตนเองภายใต้การดูแล หรือภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์แพทย์
4.3.2    ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วยตนเองในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อที่ซับซ้อนไม่น้อยกว่า 50 ราย
4.3.3    ทำการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องมีแพทย์หลายคนร่วมให้การรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อที่ซับซ้อนมากไม่น้อยกว่า 30 ราย
4.3.4    ทำผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติหลังได้รับบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและข้อที่ซับซ้อนไม่น้อยกว่า 10 ราย
4.3.5    เป็นผู้ช่วยผ่าตัดลำดับที่หนึ่ง (first assistant) ในการผ่าตัดต่างๆ ไม่น้อยกว่า 50 ราย
4.4    รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้านการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์โดยการรับปรึกษาปัญหาจากแพทย์สาขาอื่น ทั้งในและนอกเวลาราชการตามที่ได้รับมอบหมาย

       

สื่อสารภายใน