Part A: การตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์ที่ต้องรู้และตรวจเป็น

Part A: การตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์ที่ต้องรู้และตรวจเป็น            

วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล

1.    การตรวจบริเวณคอ                                                                 

       การตรวจร่างกายบริเวณคอสามารถทำได้ โดยการดู การคลำ การตรวจการเคลื่อนไหว การตรวจทางระบบประสาทเเละ การตรวจพิเศษเฉพาะ
      1.1.    การดู (inspection)
               1.1.1. ควรดูทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง สังเกตลักษณะของต้นคอว่าอยู่ในภาวะสมดุล (balance) หรือไม่ (รูปที่ 1.1)  มีคอเอียงหรือบิดเบี้ยวจากเเนวปกติหรือไม่

 
 07-10-57 13-29-29

รูปที่ 1.1 แสดงภาพถ่ายบริเวณคอด้านข้างเปรียบเทียบระหว่าง a) ลักษณะของคอที่มีปกติ คือ มีสมดุลดี  b) ลักษณะของคอที่ไม่ปกติ คือ ยื่นไปด้านหน้ามาก

         1.2.    การคลำ (palpation)

1.2.1. คลำ bony structure ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อความผิดปกต เช่น จุดกดเจ็บ และใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิงระดับของกระดูกคอ เช่น กระดูก hyoid bone ตรงกับระดับกระดูก C3 ซึ่งคลำได้ชัดขึ้นเมื่อให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลาย และกระดูก thyroid ตรงกับระดับกระดูก C4
1.2.2. คลำกล้ามเนื้อทั้ง 2ข้างของกระดูกคอ และบริเวณบ่า ว่ามีการเกร็งตัวหรือไม่และมีขนาดเท่ากันหรือไม่
1.2.3. คลำดูก้อน หรือความผิดปกติของเนื้อเยื่ออื่น ๆ เช่น lymph node chain, thyroid gland, parotid gland, supraclavicular fossa รวมถึงคลำ carotid pulse
1.3.    การตรวจการเคลื่อนไหว (range of motion)
1.3.1. ประมาณ 50% ของการเคลื่อนไหวแบบ lateral rotation เกิดขึ้นที่ C1-C2 และประมาณ 50% ของการเคลื่อนไหวแบบ flexion-extension เกิดขึ้นที่ occiput กับ C1
1.3.2. ตรวจ flexion, extension, rotation และ lateral bending ในระหว่างการตรวจ ควรสังเกตจังหวะการเคลื่อนไหว (rhythm) ว่าสม่ำเสมอเป็นปกติหรือไม่ มีอาการเจ็บปวดขณะที่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหรือไม่
1.3.3. ความเจ็บปวดเกิดขึ้นในจังหวะหรือ ROM ช่วงใด ให้สังเกตว่า ROM กับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดในระดับที่สมมาตรกันหรือไม่ (symmetry) และให้บันทึก ROM ที่ผิดปกติไว้ด้วย
1.3.4. ควรตรวจทั้ง active (รูปที่ 1.2) และ passive ROM และควรพิจารณาว่าการเคลื่อนไหวนั้น ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรืออาการชาที่ร้าวลงเเขนด้วยหรือไม่ ซึ่งบ่งบอกว่ามีพยาธิสภาพซึ่งกดทับเส้นประสาทบริเวณนั้น
 

07-10-57 13-31-39

รูปที่ 1.2 แสดง ROM แบบ active ของคอในคนปกติ ซื่งสามารถเคลื่อนไหวได้ 6 ทิศทาง คือ flexion, extension, right rotation, left rotation, left lateral bending และ right lateral bending

 

** >>> สั่งซื้อหนังสือที่ศูนย์หนังสือจุฬา http://www.chulabook.com

สื่อสารภายใน