Part C: กลุ่มโรค และอาการที่ต้องรู้

18.    Soft tissue rheumatism                                                                      

ประวิทย์ กิติดำรงสุข

18.1.    De Quervain disease และ โรคอื่นของ hand             

         กลุ่มอาการ stenosing tenosynovitis

• เป็นการอักเสบเรื้อรังของเส้นเอ็นบริเวณที่ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนักและมีการเสียดสีมากกว่าบริเวณอื่น ๆ
• โดยปกติ บริเวณที่มีการเสียดสีมาก จะมีเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่หุ้มทั้งด้านในผนังของปลอกเส้นเอ็นและด้านนอกของเส้นเอ็น เพื่อช่วยลดการเสียดสีที่เกิดจากการใช้งาน
• การอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นบริเวณนี้ เป็นผลจากการใช้งานมากเกินไป ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นทั้งสองฝั่งหนาตัวขึ้น ทำให้ช่องว่างในปลอกเส้นเอ็นตีบแคบลง ทำให้เส้นเอ็นที่ลอดผ่านเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า stenosing tenosynovitis

ตัวอย่างของพยาธิสภาพชนิดนี้บริเวณมือได้แก่ De Quervain disease, extensor carpi ulnaris (ECU) tendinitis (reverse De Quervain disease) และ trigger finger

18.1.1. De Quervain disease

• เป็นภาวะ stenosing tenosynovitis ของ  the first extensor compartment ตรงตำแหน่งปุ่มกระดูก radial styloid ของข้อมือบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
• first extensor compartment ประกอบด้วยเส้นเอ็น 2 เส้นคือ abductor pollicis longus (APL) และ extensor pollicis brevis (EPB) ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น first extensor retinaculum
• สาเหตุของโรคเกิดจากการใช้งานของนิ้วหัวแม่มือในท่าเหยียดนาน ๆ ซ้ำ ๆ มากเกินไป จนกระทั่งเกิดการอักเสบเรื้อรังตามพยาธิสภาพของ stenosing tenosynovitis  ดังได้กล่าวมาแล้ว
• อาการและอาการแสดง

-    อาการสำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อมือบริเวณ radial styloid โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน
-    อาจสังเกตพบการอักเสบคือบวม-แดง-ร้อน บริเวณ radial styloid และด้านนอกของบริเวณ anatomical snuffbox ซึ่งตรงกับ first extensor compartment

• การตรวจร่างกาย

-    การตรวจที่สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องมีการกดเจ็บ (tenderness) บริเวณปุ่มกระดูก radial styloid  
-    การตรวจร่างกายที่จำเพาะสำหรับโรคนี้คือ Finkelstein’s test ซึ่งการตรวจมี 3 ขั้นตอน (รูปที่ 18.1)
-    ขั้นแรกผู้ตรวจจับกระดูกฝ่ามือ (metacarpal) ของนิ้วหัวแม่มือให้ค้างไว้ในท่า full adduction โดยให้ข้อมืออยู่ในท่า neutral  
-    ขั้นตอนที่สองให้เลื่อนนิ้วมือของผู้ตรวจมาที่กระดูก proximal phalanx ของนิ้วหัวแม่มือกดข้อ metacarpophalangeal joint (MCPJ) ของนิ้วหัวแม่มือให้อยู่ในท่างอเต็มที่ (full flexion) โดยที่กระดูกฝ่ามือยังอยู่ในท่า full adduction และข้อมืออยู่ในท่า neutral เหมือนเดิม ผู้ป่วยบางรายจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูก radial styloid แปลว่าผลการตรวจเป็นบวก
-    ขั้นตอนที่สามให้ผู้ตรวจ กดนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วยค้างไว้ให้กระดูกฝ่ามืออยู่ในท่า full adduction และข้อ MCPJ อยู่ในท่างอเต็มที่ค้างไว้ จากนั้นจึงกดข้อมือผู้ป่วยให้ไปอยู่ในท่า full ulnar deviation ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูก radial styloid ก็คือผลการตรวจให้ผลบวก
         

07-10-57 13-49-49

รูปที่ 18.1 แสดงการตรวจ Finkelstein’s test

สื่อสารภายใน