Part D: กลุ่มโรค และอาการที่ควรรู้

Part D: กลุ่มโรค และอาการที่ควรรู้

พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

34.    กระดูกพรุน (Osteoporosis)                           

        เป็นภาวะที่กระดูกมีมวลกระดูกลดน้อยลง และโครงสร้างของกระดูกเปลี่ยนแปลงทำให้กระดูกอ่อนแอหักง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกในตำแหน่งต่าง ๆ ตาม อายุ เพศ เชื้อชาติ ในภาวะนี้พบว่า ผนังกระดูกบางลงกว่าปกติ เนื้อกระดูกพรุนและโปร่งกว่าปกติ แต่โครงสร้างภายในของกระดูกเป็นเนื้อกระดูกที่มีภาวะ mineralization ปกติ

34.1.    Bone Modeling and Remodeling

34.1.1. การสลายและการสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเป็นลำดับมีความสำคัญต่อการปรับแต่งกระดูก ในระหว่างการเจริญเติบโต การปรับแต่งกระดูกทำให้กระดูกต่าง ๆ มีรูปร่างเฉพาะการปรับโครงสร้างภายในของกระดูกเกิดขึ้นตลอดชีวิตของมนุษย์

34.1.2. กระดูกส่วนที่เก่าจะถูกแทนที่ด้วยกระดูกใหม่เสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการล้าและหัก การปรับโครงสร้างของกระดูกตามแรงที่กระทำต่อกระดูกทำให้โครงสร้างบางส่วนมีลักษณะหนาและแข็งแรง การปรับแต่งกระดูกนี้ยังทำให้เกิดความสมดุลย์ของการสะสมเกลือแร่ในกระดูก

34.1.3. Remodeling เริ่มต้นโดยมีเซล osteoblast และ osteoclast อยู่ที่ผิวหน้ากระดูก และเริ่มมีการขุดผิวกระดูกเป็นหลุมซึ่งจะเสร็จสิ้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นเซล osteoclast จะตายและถูกกำจัดไป ต่อจากนั้นจะเริ่มมี osteoblast ปรากฏบนผิวของหลุมที่เกิดขึ้น จะมีการสร้าง osteoid และเกิดกระบวนการ mineralization สร้างเป็น packet ของกระดูก (osteon) โดยใช้เวลาอีก 3 เดือน

34.1.4. กระบวนการ remodeling cycle จะเสร็จสิ้นประมาณ 4-6 เดือน กระดูกเก่าและใหม่จะพบได้โดยรอยต่อ “Cement line” ซึ่งเห็นได้จากการตรวจพยาธิเซลวิทยา

34.1.5. กระบวนการสลายและสร้างกระดูกหรือ coupled นี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของ parathyroid hormone (PTH) และ 1,25 – (OH)2 Vitamin D

34.1.6. การเกิด remodeling นี้เกิดทั่วร่างกาย ประมาณว่า 4% ของ cortical bone และ 25% ของ trabecular bone มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ในช่วงหนุ่มสาวการสร้างกระดูกเกิดมากกว่าการสลายกระดูกเล็กน้อย ทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงวัยสูงอายุ การสลายกระดูกเกิดมากกว่าการสร้างกระดูกทำให้เนื้อกระดูกลดลง การสร้างและการสลายกระดูกนี้มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย

34.2.    การควบคุมกระบวนการ Bone Remodeling

34.2.1. การทำงานร่วมกันของ osteoblastic bone formation และ osteoclastic bone resorption เกิดจากการทำงานเป็นระบบของ RANKL/RANK นอกจากนี้ยังมี cytokine ตัวอื่น เช่น osteoprotegerin (OPG) ก็มีบทบาทในการควบคุมการ differentiation ของ osteoclast สาร OPG ถูกสร้างจาก osteoblast และทำหน้าที่เป็น decoy receptor ของ RANKL โดยการแย่งจับบน osteoclast precursor receptor ทำให้ลดการสลายกระดูก

34.2.2. ปัจจัยต่างๆมากมายมีผลต่อ bone remodeling เช่น hormone ระบบ cytokine อาหาร ยา และ สัญญาณการกระตุ้นกระดูกโดยภาวะ stress ต่อกระดูก ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนในภาวะอื่น ๆ ด้วย เช่น metastasis, myleomatosis, rheumatoid arthritis และ inflammatory condition อื่น ๆ

 

 

สื่อสารภายใน